วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ปัญหาของ Windows Phone 8 ณ เวลานี้ : สุ่ม Reboot, แบตเตอรี่หมดไว

Windows Phone

หลังจากที่ทางไมโครซอฟท์เปิดตัว Windows Phone 8 ไปแล้วสักระยะ ตอนนี้ปัญหาของตัวระบบก็เริ่มมาแล้ว อย่างล่าสุด มีผู้ใช้ส่วนหนึ่งระบายในหน้าฟอรั่มของ Windows Phone Central, ศูนย์ให้ความช่วยเหลือของโนเกีย และของไมโครซอฟท์ ว่า Windows Phone 8 จะสุ่ม reboot เครื่องใหม่ และเครื่องค้างเป็นระยะ
นอกจากนี้ผู้ใช้บางส่วนนี้ก็ออกมาโวยว่า Windows Phone 8 กินแบตเตอรี่เป็นอย่างมาก แบตหมดไว ไม่เหมือนกับที่โฆษณาว่าแบตทนทาน และอีกหัวข้อในฟอรั่มของ Windows Phone Central ก็บอกถึงปัญหาจากการรีเซ็ตเครื่องอย่างระมัดระวังในสมาร์ทโฟน Lumia 920 แล้วเกิดอาการบริก (ซึ่งถ้ายังจำกันได้ เหตุการณ์นี้เคยเกิดขึ้นกับเครื่องSamsung Omnia 7 และ Focus)
เว็บไซต์ The Verge ได้เสนอวิธีการประหยัดแบตเตอรี่ (ชั่วคราวก่อนที่ไมโครซอฟท์จะปล่อยอัพเดตแรกของ Windows Phone 8) คือให้ปิดฟีเจอร์ Tap + Send หรือ NFC ซึ่งจะช่วยยืดอายุแบตได้สักระยะ แต่ผมเชื่อว่าอีกไม่นานไมโครซอฟท์จะปล่อยอัพเดตแก้ไขเรื่องนี้นะครับ

Apple ลุยตลาดการศึกษาประเทศไทย พัฒนาตำราเรียนบน iBooks ประเดิม 500 โรงเรียนปีแรก

apple25-1-2556
        นายวิโรจน์ อัศวรังสี รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิ แอสไพเรอร์ส กรุ๊ป ตัวแทนจำหน่ายระบบด้านการศึกษาของบริษัท แอปเปิล ประเทศไทย เปิดเผยว่า รูปแบบการเรียนการสอนทั่วโลกเริ่มมีการใช้แท็บเล็ตทดแทนหนังสือเรียนบางส่วน มาในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ขณะเดียวกัน การที่ประเทศไทยมีโครงการแท็บเล็ต ป.1 เมื่อปี 2555 ที่ผ่านมา ทำให้มีการใช้งานกว้างขวางมากขึ้น และยังส่งผลให้ตลาดคอนเทนต์มูลค่ากว่า 8,000 ล้านบาทที่เป็นรูปหนังสือ เริ่มปรับมาเป็นระบบดิจิตอลมากขึ้นตามไปด้วยทั้งนี้ แอสไพเรอร์ส ได้ร่วมมือกับสำนักพิมพ์วัฒนาพานิช ซึ่งมีตำราเรียนมากที่สุด ได้ร่วมกันพัฒนาโซลูชันตำราเรียนดิจิตอลบนเทคโนโลยีไอบุ๊กส์ของแอปเปิล ทำให้นักเรียนได้ใช้หนังสือเรียนยุคใหม่บนไอแพด สามารถดูรูปภาพและวิดีโอ และเชื่อมต่อกับเว็บไซต์ได้ทั่วโลก โดยได้พัฒนาครบทั้ง 8 สาระวิชาสำหรับนักเรียน ม.1 แล้ว และกำลังเดินหน้าพัฒนาสำหรับระดับชั้นอื่นๆ ต่อไปสำหรับในปีแรก แอสไพเรอร์ส ตั้งเป้ามีโรงเรียนที่นำระบบดังกล่าวไปใช้งานประมาณ 500 โรงเรียน จากโรงเรียนในประเทศไทยที่มีกว่า 3.9 หมื่นโรงเรียน โดยล่าสุดมี 20 โรงเรียนแสดงความสนใจเข้ามาแล้ว นอกจากนี้บริษัทยังมีแผนที่จะพัฒนาโซลูชันให้รองรับระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ และวินโดวส์ 8 ในปีนี้ เพื่อขยายตลาดในอนาคต

       “หากต้องการลงทุนโซลูชันสมบูรณ์ทั้งระบบ 1 ห้องเรียน สำหรับนักเรียน 40 คน ใช้เงินประมาณ 7-8 แสนบาท ถือว่าใกล้เคียงกับห้องโสตทัศนศึกษา” นายวิโรจน์ กล่าวนายวรชัย จงพิพัฒนสุข กรรมการ บริหาร สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช กล่าวว่า ต้นทุนคอนเทนต์ต่อชิ้นจะใกล้เคียงกับหนังสือเรียน คือ ราคาไม่เกิน 100 บาท แต่คอนเทนต์บนไอแพดจะสวยงามกว่า ครบถ้วนสมบูรณ์ ส่งเสริมการเรียนรู้มากกว่า แม้จะมีต้นทุนฮาร์ดแวร์คือ ไอแพด เพิ่มขึ้นมา แต่ก็ถือว่าคุ้มค่านอกจากนี้ ยังเชื่อว่าสุดท้ายแล้วในอีก 3 ปีข้างหน้า ไอแพดและแท็บเล็ตจะเป็นอุปกรณ์หลักในการเรียนรู้ของเด็ก ที่มีการใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น“หนังสือเรียนดิจิตอล ส่วนใหญ่เป็นไฟล์พีดีเอฟเท่านั้น อาจจะมีสอดแทรกแฟลช หรืออินเตอร์แอ็กทีฟ แต่ที่ทำเต็มรูปแบบเป็นโซลูชันการเรียนรู้ ต้องบอกว่าแอสไพเรอร์ส และวัฒนาพานิช ทำเป็นแห่งแรกในอาเซียน และอนาคตมีโอกาสไปขยายตลาดต่างประเทศ แต่จะเน้นในไทยก่อน” นายวรชัย กล่าวด้านนายวรพันธ์ โลกิตสถาพร นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การเปลี่ยนผ่านจากหนังสือไปสู่หนังสือดิจิตอล ทางสมาคมได้ประเมินแล้วคาดว่าในเวลา 3 ปีนี้จะยังไม่ถือเป็นนัยสำคัญต่อตลาด และไม่น่ากระทบต่อหนังสือปกติขณะเดียวกัน เมื่อประเมินจากมูลค่าตลาดรวมหนังสือปกติกว่า 2.1 หมื่นล้านบาท พบว่ามีสัดส่วนยอดจำหน่ายหนังสือดิจิตอลประมาณ 1% เท่านั้น เนื่องจากมีข้อจำกัดหลายประการ เช่น ระบบซื้อขายคอนเทนต์หนังสือบนอุปกรณ์|แท็บเล็ตยังไม่ชัดเจน การแบ่งรายได้ระหว่างผู้ผลิต ผู้พัฒนาระบบ สำนักพิมพ์ และผู้ให้บริการแอพสโตร์ยังไม่ลงตัวนอกจากนี้ ยังเห็นได้ว่าปัจจุบันจำนวนผู้ใช้แท็บเล็ตในประเทศไทยยัง|ไม่กว้างพอ รวมทั้งโครงข่ายยังไม่พร้อมสำหรับให้ดาวน์โหลด และราคาหนังสือดิจิตอลยังไม่จูงใจมากนัก เมื่อเทียบกับราคาหนังสือปกติอย่างไรก็ตาม ทางสมาคมก็เตรียมความพร้อมให้กับสมาชิกอย่างต่อเนื่อง เพื่อเตรียมรับมือความเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งเชื่อว่าหากหนังสือดิจิตอลจะเกิดขึ้น มีโอกาสที่จะเกิดกับหนังสือเรียนก่อน เนื่องจากมีกระทรวงศึกษาธิการเป็นเจ้าภาพ และมีการพัฒนาหนังสือเรียนดิจิตอลเพื่อใช้งานบนแท็บเล็ต ป.1 ได้“ต่างประเทศจะเห็นหนังสือดิจิตอลเริ่มแพร่หลายขึ้น เพราะปริมาณผู้ใช้มีมากพอ ทำให้คุ้มค่ากับการผลิตพัฒนา แต่ในประเทศไทยยังต้องใช้เวลา” นายวรพันธ์ กล่าวสำหรับในส่วนของการเรียนการสอนนั้น จากนโยบายรัฐบาลให้ใช้แท็บเล็ต เพื่อใช้เป็นแหล่งเก็บความรู้และเข้าถึงความรู้ ซึ่งมีส่วนสนับสนุนหนังสือเรียนดิจิตอล แต่ที่สำคัญคือต้องดูระดับอายุของผู้ใช้ หากผู้ใช้ยังอายุน้อย หรือเด็กเกินไปก็ไม่มีประโยชน์ และต้องมีระบบควบคุมที่ดีด้วย เพื่อไม่ให้เกิดการใช้ที่ส่งผลเสียต่อเยาวชน


ที่มา:http://www.itday.in.th/apple-%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8/

Intel Atom ตัวใหม่ 4 Core ตัวแรงกำลังมา

Intel-Logo
Atom ตัวใหม่จะใช้รหัส “Bay Trail-T” ที่เราจะได้เห็นกันในปี 2014โดย “Bay Trail-T” จะเปลี่ยนแปลงของชิปแทน Clover Trail เดิมด้วยลดเทคโนโลยีการผลิตจาก 32 นาโนเมตร สู่ 22 นาโนเมตร โดย “Bay Trail-T” จะมีซีพียูที่เป็น 4 คอร์ แต่จะไม่มีHyper Threading และชิปการ์ดจอตัวใหม่ Intel HD 4000 ที่ยกมาจาก Ivy Bridge และ สนับสนุน DirectX11 พร้อมสามารถใช้งานได้นานถึง 11 ชั่วโมง ส่วนตัวเป็นๆจะเป็นไงบ้างคงต้องตั้งตารอปีหน้าเลยนะครับ
image
ที่มา:http://www.itday.in.th/intel-atom-%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88-4-core-%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B2/

Adobe เปิดตัว Edge Reflow ออกแบบเว็บไซต์แบบ Responsive

ปีที่แล้ว Adobe เปิดตัว Edge สำหรับพัฒนา website HTML5 แบบใหม่ ซึ่งบางชุดนั้นเปิดให้ทดสอบไปแล้ว มาวันนี้ Adobe ออก Software รุ่นPreview คือ Edge Reflow คือช่วยการออกแบบ Responsive ที่สามารถ Reflow เนื้อหาภายใน Website ตามจอแสดงผลได้ และได้มีคน ของ Adobe ทำการ Demo Reflow ที่งานแถลงข่าวเปิดตัว Creative Cloud ในประเทศไทยน่าประทับใจไม่น้อย ช่วยลดภาระงานของโปรแกรมเมอร์-ดีไซเนอร์เรื่องการทดสอบเว็บแบบ responsive ข้ามอุปกรณ์ชนิดต่างๆ ได้มาก ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดมาทดสอบได้จาก Adobe Edge Reflowนอกจาก Edge Reflow ที่เป็นแอพตัวใหม่แล้ว Adobe ยังอัพเดตแอพตัวเก่าในชุดคือ Edge Animate และ Edge Code รวมถึงแอพเก่าแก่อย่าง Dreamweaver ด้วยซอฟต์แวร์ตระกูล Edge ถือเป็นก้าวใหม่ของ Adobe ที่มุ่งเน้นงานด้านเว็บแอพ-แอพมือถือมากขึ้น อีกทั้งยังผนวกกับบริการออนไลน์ Creative Cloud อย่างแนบแน่น (ตามยุทธศาสตร์ใหม่ของบริษัท)




ที่มา:http://www.itday.in.th/adobe-%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7-edge-reflow-%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%8B%E0%B8%95/

กำเนิดแว่น AR ให้ผู้สวมวาดมือบนอากาศเพื่อเลือกเมนูใช้งาน

ฝันของนักวิทยาศาสตร์ในภาพยนตร์ไซ-ไฟกำลังเป็นจริง เมื่อบริษัทเทคโนโลยีนาม Meta ลงมือพัฒนาแว่นเทคโนโลยีเสมือนจริงหรือ Augmented Reality ที่ผสานความสามารถด้านภาพ 3 มิติเข้ากับเทคโนโลยีตรวจจับความเคลื่อนไหว จนทำให้เกิดเป็นแว่นตาที่ผู้สวมใส่จะสามารถเลือกเมนูหรือวัตถุเสมือนที่เห็นได้ด้วยการวาดมือบนอากาศหรือการออกท่าทางที่ต่างกันไป
       
       ในเว็บไซต์ของบริษัท Meta ระบุว่าแว่น AR นี้เกิดขึ้นบนความร่วมมือกับเอปสัน (Epson) เพื่อเปลี่ยนวิถีการตอบโต้ระหว่างนมุษย์และคอมพิวเตอร์ พร้อมกับย้ำว่านี่คือแว่น AR รุ่นแรกของโลกที่ทำให้ผู้ใช้สามารถยื่นมือออกท่าทางเพื่อควบคุมวัตถุ 3 มิติเสมือนได้โดยตรง
       
       แว่น AR นี้จะทำให้ผู้สวมสามารถเล่นเกม 3 มิติได้อย่างสนุกสนานมากขึ้น ขณะเดียวกันก็เป็นเทคโนโลยีที่สวมใส่ได้ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้สะดวกและมองเห็นภาพเสมือนได้เต็มตาทั้ง 2 ข้าง ซึ่งผู้ใช้ยังสามารถมองเห็นภาพสิ่งของรอบตัวได้ปกติเพราะการใช้เทคโนโลยีมองทะลุหรือ see-through wearable technology ของเอปสัน
       
       รายงานระบุว่า Meta เป็นบริษัทที่ก่อตั้งโดย Meron Gribetz เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา โดยรวมทีมนักศึกษาและบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบียจำนวน 15 คนซึ่งมีความหวังว่าแว่น AR นี้จะสามารถใช้งานจริงและแพร่หลายในอนาคต จุดนี้ Gribetz วิเคราะห์ว่าไม่เพียงสวมใส่ได้และมองเห็นภาพเต็ม 2 ตา แต่คอมพิวเตอร์ในอนาคตยังควรถูกควบคุมได้ด้วย 2 มือและ 2 แขนโดยไม่ต้องผ่านอุปกรณ์ใดๆ
       
       Meta ยังมีที่ปรึกษาคนเก่งอย่างศาสตราจารย์ Steven Feiner ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี AR ที่คนในวงการรู้จักกันดี ผู้สนใจสามารถคลิกชมความสามารถของแว่น AR นี้ได้จากวิดีโอด้านล่าง ซึ่งต้องการสะท้อนว่าแว่น AR นี้สามารถตอบโต้กับทั้งอุปกรณ์วิดีโอเกม โทรทัศน์ไฮเทค และคอมพิวเตอร์

หมดยุคดีวีดีของ Office 2013 ไม่มีขายแล้ว

  • Office 2013 ไม่มีขายบนแผ่นดีวีดี ยังมีขายแบบเป็นกล่องตามร้านค้าอยู่ แต่ในกล่องมีเฉพาะคีย์เท่านั้น และต้องดาวน์โหลดตัวติดตั้งผ่านอินเทอร์เน็ตเองอยู่ดี
  • ตัวติดตั้งของ Office 2013 จะใช้เทคโนโลยี Click-to-Run สตรีมไฟล์จากอินเทอร์เน็ต รันในโหมด virtualization (ด้วย App-V ของไมโครซอฟท์) และอัพเดตตัวเองอัตโนมัติโดยไม่ผ่าน Windows Update
  • Office 2013 แบบขายปลีก (retail) ไม่มีเวอร์ชันแบบ 1 กล่อง/ไลเซนส์ติดตั้งได้บนหลายเครื่อง (3-5 เครื่องแบบใน Office 2010) อีกแล้ว
คุณสมบัติด้านการติดตั้งได้หลายเครื่องพร้อมกัน จะย้ายไปอยู่บน Office 365 ขึ้นมาแทนการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการใช้งานรอบนี้ ไมโครซอฟท์พยายามผลักให้ลูกค้า Office แบบกล่องเดิมย้ายไปใช้ Office 365 ซึ่งจะแก้ปัญหาเรื่องซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ได้ด้วย

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เมื่ออินเทลถึงเวลาผลัดใบซีอีโอ


      ยักษ์ใหญ่วงการชิพประมวลผล อย่าง อินเทล ตกอยู่ในอาการถูกตีแสกหน้า เมื่อประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) พอล โอเทลลินี่ ที่นั่งตำแหน่งนายใหญ่พาอินเทลผ่านร้อนผ่านหนาวมานานถึง 8 ปี ประกาศลาออกอย่างไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ยไปเมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา กดดันให้เกิดการปรับตัวในภาคธุรกิจไฮเทค ในช่วงที่อุตสาหกรรมเคลื่อนตัวไปสู่ยุคสมาร์ทโฟน และอุปกรณ์พกพานานาชนิด

      โอเทลลินี่ ซึ่งเข้ามากุมบังเหียนอินเทลตั้งแต่ปี 2548 และอยู่คู่กับซิลิคอน วัลเลย์มาโดยตลอด ได้แจ้งให้คณะกรรมการบริหารของอินเทลทราบเมื่อวันพุธ (14 พ.ย.) ที่ผ่านมาว่า เขาต้องการเกษียณอายุในเดือนพฤษภาคมปีหน้า ก่อนหน้านี้มีการคาดการณ์กันมาโดยตลอดว่า ซีอีโอวัย 62 ปีคนนี้จะอยู่กับอินเทลไปจนครบกำหนดอายุเกษียณของบริษัท คือ 65 ปี

      ประธานบริษัทอินเทล แอนดี ไบรอัน ยอมรับว่า การตัดสินใจของโอเทลลินี่ สร้างความตกใจให้กับบริษัท และยืนยันว่า ไม่มีสาเหตุอื่นใดเป็นพิเศษ นอกเหนือจากที่โอเทลลินี่รู้สึกว่า ถึงเวลาแล้วที่จะเปลี่ยนมือให้บุคคลอื่นที่มีความสามารถขึ้นมาบริหารอินเทลบ้าง หลังจากที่เขาอยู่ในตำแหน่งซีอีโอมานานถึง 8 ปี

    "ผมพยายามโน้มน้าวใจให้เขาอยู่ต่อ แต่ไม่สำเร็จ เลยคิดว่าถึงเวลาแล้วที่อินเทลจะต้องเปลี่ยนแปลง" ไบรอัน กล่าวในระหว่างให้สัมภาษณ์

      โอเทลลินี่ ได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้ที่นำความเปลี่ยนแปลงมาสู่อินเทลในหลายด้านด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการตัดลดค่าใช้จ่าย การพาอินเทลแข่งขันแบบหายใจรดต้นคอจนสามารถเอาชนะแอดวานซ์ ไมโคร ดีไวซ์ อิงค์. (เอเอ็มดี) คว้าตำแหน่งผู้ผลิตชิพเบอร์ 1 ของโลกไปได้ หรือการพาบริษัทผ่าสมรภูมิศึกซักฟอกการต่อต้านการผูกขาดที่กินระยะเวลายาวนาน รวมถึงการขยายฐานการเป็นผู้นำในการผลิตคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

      ในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่ง ยอดขายของอินเทลเพิ่มขึ้นจาก 38.8 พันล้านดอลลาร์ เป็นประมาณ 53.5 พันล้านดอลลาร์ในปีนี้ สำหรับกำไร มีการคาดการณ์กันว่า น่าจะทะลุ 10.9 พันล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับปี 2548 ซึ่งมีกำไร 8.6 พันล้านดอลลาร์ แต่ราคาหุ้นลดลงราว 4% นับตั้งแต่เขาเข้ารับหน้าที่ซีอีโอ และลดลง 17% นับตั้งแต่สิ้นเดือนสิงหาคม เป็นต้นมา

      การเปลี่ยนแปลงในเชิงการบริหารครั้งนี้ เน้นย้ำให้เห็นภูมิทัศน์ของอินเทลที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างเด็ดขาดและรวดเร็ว โดยอินเทล ซึ่งมีไมโครซอฟท์เป็นพันธมิตรทางด้านซอฟต์แวร์นั้น ครั้งหนึ่งเคยเป็นผู้กำหนดมาตราฐานทางเทคนิคที่สำคัญให้กับอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ และสร้างกำไรได้มหาศาลจากอุตสาหกรรมนี้

      ขณะที่อีกหนึ่งปัจจัยเสริม คือ การมาถึงของ"ไอโฟน" ของแอปเปิล เมื่อปี 2550 ทำให้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) ถูกแทนที่โดยมือถือ และเหล่าผู้ผลิตและพัฒนาทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ ต่างหันไปพัฒนานวัตกรรมใหม่ที่รองรับและสำหรับใช้กับมือถือแทน

      อินเทล ซึ่งขายชิพที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องจักรประมวลผลของพีซีได้กว่า 80% ต้องเผชิญกับภาวะที่ความต้องการชิพสำหรับพีซีที่ลดลง และมีข้อจำกัดในการพัฒนาเทคโนโลยีชิพมือถือ และแท็บเล็ตพีซี

      แม้ชิพของอินเทลจะถูกเลือกไปใช้ในมือถือ ซึ่งวางจำหน่ายนอกสหรัฐ เป็นจำนวนมาก แต่บริษัทต้องเจอกับการแข่งขันอย่างหนักหน่วงในตลาดผู้ผลิตชิพ ที่ส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีของบริษัทเออาร์เอ็ม โฮลดิ้งส์ พีแอลซี ในอังกฤษ

      ในอีกหนึ่งเชิงสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลง คือ การที่คู่แข่ง อย่าง ควอลคอมม์ ที่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาชิพสำหรับอุปกรณ์ไร้สาย และใช้เทคโนโลยีของเออาร์เอ็มด้วยนั้น เบียดอินเทลกลายเป็นบริษัทผลิตชิพที่มีมูลค่าสูงสุด ในขณะที่ ไมโครซอฟท์ เพิ่งวางจำหน่ายซอฟต์แวร์วินโดวส์สำหรับชิพเออาร์เอ็ม และเปิดแนวรบใหม่ในตลาดพีซี

      เครก เบอร์เกอร์ นักวิเคราะห์ของเอฟบีอาร์ แคปิตอล มาร์เก็ต ให้ความเห็นว่า อินเทลไม่สามารถเจาะตลาดสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตพีซีได้ หากไม่ปรับเปลี่ยนทิศทางและนำเทคโนโลยีเออาร์เอ็ม และเทคโนโลยีไร้สายที่ทันสมัยควอล์คอมม์ใช้ในชิพของตัวเอง มาใช้

      แม้อินเทลจะไม่ประสบความสำเร็จในตลาดอุปกรณ์พกพา แต่ดูเหมือนว่า มีแนวโน้มที่บริษัทจะถูกบีบให้แบ่งตลาดชิพสำหรับอุปกรณ์พกพากับผู้ผลิตชิพรายอื่น ที่ใช้กลยุทธ์ด้านราคา และประสิทธิภาพในการแข่งขันอย่างดุเดือด ซึ่งเป็นตลาดที่มีกำไรไม่มาก แตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากตลาดชิพพีซี
"อินเทลไม่ได้เป็นผู้ผลิตชิพเพียงรายเดียวในเกมแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้" โรเบิร์ต เบอร์เกลเมน ศาสตราจารย์ด้านการบริหารจัดการของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งมีติดตามอินเทลอย่างใกล้ชิด กล่าว

      เมื่อวันจันทร์ (19 พ.ย.) อินเทล เปิดเผยรายชื่อผู้บริหารในบริษัทที่มีโอกาสจะขึ้นมาดำรงตำแหน่งซีอีโอแทนโอเทลลีนี่ ซึ่งประกอบด้วย เรเน เจมส์ หัวหน้าธุรกิจซอฟต์แวร์ ไบรอัน ครานิช ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฎิบัติการ (ซีโอโอ) และหัวหน้าฝ่ายผลิตทั่วโลก และสเตซี สมิธ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน (ซีเอฟโอ) และผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์องค์กร รวมถึงรองประธานฝ่ายบริหาร 2 คน ทั้งเดวิด เพอร์มุตเตอร์ ที่ดูแลเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และอาร์วินด์ สุดธานี ที่บริหารหน่วยงานด้านการลงทุน

     ไบรอัน บอกว่า เพื่อฉีกประเพณีที่มาแต่เดิม บริษัทมีแผนจะพิจารณาผู้สมัครจากภายนอก แต่จะ "พิจารณา" คนในก่อน พร้อมเสริมว่า คณะกรรมการ"พอใจกับกลยุทธ์ที่โอเทลลินี่วางไว้มาก" และมองว่าไม่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงทิศทาง

      แหล่งข่าววงใน กล่าวว่า ในส่วนของผู้สมัครจากภายนอก ที่บรรดาผู้บริหารในอุตสาหกรรมหลายคนหยิบยกมาอ้างถึงบ่อย ประกอบด้วย เดวิด เดอวอล์ต อดีตซีอีโอของแมคอาฟี อิงค์. ซึ่งอินเทลเทคโอเวอร์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้ว และวิลเลี่ยม นูติ ประธานบริหาร และซีอีโอของเอ็นซีอาร์ คอร์ป. รวมถึงแพต เกลซิงเกอร์ อดีตผู้บริหารอินเทล ที่ปัจจุบันเป็นซีอีโอของวีเอ็มแวร์ อิงค์. ธุรกิจซอฟต์แวร์ที่มีอีเอ็มซี คอร์ป. ถือหุ้นใหญ่ และได้รับการวางตัวว่า จะเป็นซีอีโอคนใหม่ของอีเอ็มซี

      โอเทลลินี่ ซึ่งเป็นซีอีโอคนที่ 5 นับตั้งแต่บริษัทก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2511 เป็นซีอีโอคนแรกที่ไม่มีพื้นฐานมาจากการเป็นวิศวกร แต่เติบโตมาจากสายการตลาดและการขาย รูปแบบการบริหารของเขาแตกต่างจากซีอีโอที่เป็นตำนานของอินเทล อย่าง กอร์ดอน มัวร์ และแอนดี้ โกรฟ